ยึดเป้ยตาดีคืนมา (๑) | Boring Days

ยึดเป้ยตาดีคืนมา (๑)

Date 5 August 2010 – 13:15

ขึ้นว่า “เป้ยตาดี” หลายคนอาจงงสงสัย ถ้าบอกว่ามันคือที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร ก็คงร้องอ๋อ ผมเจาะจงจะเรียกชื่อนี้โดยไม่เรียกเขาพระวิหารเพราะหมู่นี้มีความสับสนในอาณาเขต และคนไทยจำนวนไม่น้อยก็เลือน ๆ ไปแล้วว่าผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็นของไทย ทั้งไพล่เข้าใจว่ามีพื้นที่ “พิพาท” บ้าง “ทับซ้อน” บ้าง หรือบ้างก็เข้าใจว่าปราสาทพระวิหารหรือเขาพระวิหารทั้งเขาเป็นของเขมร

ผมไม่อยากชวนย้อนประวัติศาสตร์ฉบับยาวในยุคก่อนรัฐชาติ ที่สมัยนั้นไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ประเทศ” ตามความเข้าใจปัจจุบัน เรามีสิ่งที่เรียกว่า “กรุง” อย่างกรุงสุขโทัย กรุงศรีอยุธยา เป็น “อาณาจักร” เป็นเขตอิทธิพล คือในเขตพื้นที่นั้นใครมีอิทธิพลเป็นใหญ่

เทียบอย่างหยาบ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบอย่างง่ายต่อความเข้าใจ ก็คือ อย่างแถวประตูน้ำใครเป็นใหญ่ อย่างเมืองชลใครเป็นใหญ่ นครปฐมใครเป็นใหญ่

สิ่งต่างคือมีเรื่องของอิทธิพลในหลายมิติ ทั้งในมิติของความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ เป็นอาทิ ซึ่งมีความทั้งเกี่ยวและไม่เกี่ยวกับชาติพันธุ์หรือชนชาติ ขอบเขตของอิทธิพลอาจดูได้ในภายหลังจากซากสิ่งของที่หลงเหลือ อาจจะเรียกว่าโบราณวัตถุหรืออะไรทำนองนั้น และความเติบใหญ่เข้มแข็งของขอบเขตอิทธิพลของแต่ละอาณาจักรเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

ถ้าอาณาจักรขอม (ที่เราเรียก และเขมรให้ความหมายว่าคือเขมร — หมายเหตุว่าผมไม่ใส่ใจว่าขอมคือขอมไม่ใช่เขมรตามความเข้าใจของไทย หรือขอมคือเขมรตามความเข้าใจของเขมร) ที่เคยรุ่งเรืองมากสมัยหนึ่งกินขอบเขตอิทธิพลในประเทศไทยปัจจุบันไปกว่าค่อน ยุคก่อนอาณาจักรขอมพื้นที่แห่งนี้ก็ไม่ใช่ขอม และยุคตั้งแต่สุโขทัยเติบใหญ่ ศรีอโยธยาเติบใหญ่ อาณาจักรขอมก็แทบไม่เหลืออิทธิพลในผืนแผ่นดินสุวรรณภูมินี้ ว่าอย่างง่ายคือชนชาติไทยในสมัยนั้นเอาตีนกวาดอิทธิพลเขมรออกไปนอกพื้นที่ และขยายอิทธิพลไปจนกระทั่งเขมรเหลือพื้นที่เท่า “ตะปิ้ง” และอำนาจเหนือพื้นที่เท่าตะปิ้งนั้น ก็อยู่ในฐานะ “รัฐสมุน” ของไทย (ภาษาอย่างเป็นทางการเรียก “ประเทศราช”)

เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่เกิด เปลี่ยนแปลง แตกดับไปตามเวลา

เช่นนี้ กรณีปราสาทพระวิหาร ที่เขมรแย้งว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างของอาณาจักรเขมรโบราณ และตั้งอยู่บนดินแดนเขมร นั้น ผมมีกรณีตัวอย่างเปรียบเทียบอย่างง่ายว่า

สมัยหนึ่ง ผมเช่าบ้านมีพื้นที่อยู่หลังหนึ่ง อยู่ด้วยความสุขเป็นเวลานาน ปลูกต้นไม้ ต่อเติมไว้หลายส่วน จนต้นไม้เติบใหญ่จนถึงวันหนึ่งผมก็ต้องย้ายออกไป จากนั้นผมยังคงมีสิทธิ์อ้างสิทธิ์เหนือต้นไม้นั้นหรือเปล่า..?

ลำดับเวลาสมัยหนึ่งอาณาจักรขเมรโบราณเคยรุ่งเรือง สมัยหนึ่งอาณาจักรไทยเคยรุ่งเรือง ผลัดเปลี่ยนมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ จวบจนสมัยที่ฝรั่งเศสขยายอิทธิพลจากซีกโลกตะวันตกสู่ตะวันออกเฉียงใต้ เข้าปล้นชิงยึดพื้นที่ในภูมิภาคด้วยแสนยานุภาพทางการรบที่เหนือกว่า มีการปะทะขัดแย้งกับไทยมากมาย ในรัชกาลที่ ๔ ระหว่างที่ไทยตั้งกษัตริย์พระองค์ใหม่ให้เขมร กษัตริย์เขมรก็ไปก้มหัวยอมตัวเป็น “รัฐในอาณารักขา” ในความคุ้มครองของฝรั่งเศส ตกเป็นของฝรั่งเศสไป แต่นั้นความพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสก็มีความกระทบกระทั่งและมีการทำความตกลงกันหลายฉบับ จนเป็นที่มาของสนธิสัญญา ๑๙๐๔ อนุสัญญาและพิธีสารแนบท้าย ๑๙๐๗ ที่ถูกพูดถึงกันมากในปัจจุบัน

เป็นความตกลงว่าเขตของใครอยู่ถึงไหน ๆ คือ ยุคใหม่ที่เปลี่ยนจากเขตอิทธิพลมาเป็นยุครัฐชาติ ที่เป็น “ประเทศ” และมีขอบเขตขัดเจน

ตั้งแต่ปี ๑๙๐๔ เป็นต้นมาก็มีการเจรจาว่าด้วยการทำเขตให้ชัดเจน มีการตั้งคณะกรรมการ แต่ฝรั่งเศสก็ระรานอยู่เรื่อย ๆ ยกกำลังมายึดครองที่เมืองตราด เมืองจัน เสียเฉย ๆ จนไทยต้องเอาเมืองพระตะบอง เสียมราษฎร์ ศรีโสภณ เข้าแลกเพื่อให้ฝรั่งเศสยกกำลังออกไป ไทยได้จังหวัดริมทะเลคืน รวมถึงเกาะกูด เป็นความตกลงของกษัตริย์ไทยกับประธานาธิปดีฝรั่งเศส ลงนามที่กรุงเทพ เมื่อปี ๑๙๐๗ ที่ตกลงใช้ “สันปันน้ำ

สันปันน้ำก็คือ ถ้าเอาไม้ทรงสามเหลี่ยมมาวาง ยอดแหลม ๆ ด้านบนนั่นแหละคือ สันปันน้ำ ถ้าเอาน้ำเทราดลงไป ที่ยอดแหลมๆ ก็แบ่งน้ำไหลไปสองซีก ก็คือบรรดาสันเขาต่าง ๆ ที่แบ่งทางไหลของน้ำเวลาฝนตก

เรื่องราวการตั้งคณะกรรมการในสมัยนั้นไม่จบเพียงแค่นั้น ฝรั่งเศสไปสำรวจและทำแผนที่ตามสนธิสัญญาและอนุสัญญาดังกล่าว เพียงแต่ว่ากว่าแผนที่จะแล้วเสร็จก็ล่วงเลยไปถึงปี ๑๙๐๘ ขณะที่คณะกรรมการชุดที่ว่าเลิกประชุมไปแล้วตั้งแต่ปี ๑๙๐๗ นั่นคือ ไม่มีการลงนามรับรองของใครเลย และเป็นแผนที่ซึ่งชื่อเรียกยาว ๆ เป็นแผนที่ที่ “ฝรั่งเศสจัดทำแต่ฝ่ายเดียว” ไทยไม่ได้มีการยอมรับ ถึงแม้ว่ามีหลักฐานว่าไทยได้ขอให้ส่งมาเพิ่มเพื่อใช้ แต่ความสำคัญสุดคือไม่ได้รับการลงนามยอมรับจากคณะกรรมการชุดที่ตั้งร่วมกัน ทำให้แผนที่ขาดสถานะ ไม่ถูกรับรองว่าถูกต้อง เห็นชอบตรงกัน

แผนที่ดังกล่าวมี ๑๑ ระวาง (คือ มี ๑๑ แผ่น เป็นช่วง ๆ ตอน ๆ) ใช้มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐  จึงเรียกกันอย่างง่ายว่า “แผนที่ ๑ ต่อ ๒ แสน” มันจะมี เอส (s) หรือไม่มีเอส  มันจะถูกนำไปทำเป็นวอลล์เปเปอร์ห้องทำงานใคร หรือมันจะเป็นพรมเช็ดเท้าของใคร มันก็ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

ซ้ำแผนที่ดังกล่าวมีความฉ้อฉล ขี้โกงของฝรั่งเศสที่อยากได้พื้นที่บางส่วนจึงขีดล้ำสันปันน้ำเข้ามา นั่นคือ “ระวางดงรัก” ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเป้ยตาดี เป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนในยุคนั้นที่ได้ทำการลงหลักเขตแดนทั้ง ๗๓ หลัก เห็นว่า เป้ยตาดีเป็นหน้าผา เห็นชัด ไม่จำเป็นต้องวางหลัก

กระนั้น แผนที่ดังกล่าวนำมาสู่ความขัดแย้งเมื่อห้าสิบปีให้หลัง เมื่อสุนัขจิ้งจอกสีหนุนำไปฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และหนึ่งร้อยปีให้หลังเขมรนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ไม่ว่าศาลโลกจะตัดสินอย่างไรใน พ.ศ. นั้น ไม่ว่าคณะกรรมการมรดกโลกจะตัดสินอย่างไรใน พ.ศ.นี้ และไม่ว่าศิลปะจะเป็นบายน สร้างโดยชัยวรมันที่เท่าไหร่ หรือสร้างในยุคอิทธิพลของอาณาจักรไหน

สถานะของปราสาทพระวิหาร เป็นแต่เพียงต้นไม้ที่ผมปลูกในบ้านเช่า เป็นแต่เพียงต้นผลไม้อันเกิดจากนกกามาอึไว้ในแผ่นดินไทย ต้นผลไม้จากมูลนกกางอกในแผ่นดินใครก็เป็นของคนนั้น ไม่มีคุณค่าและความหมายที่เป็นอย่างอื่น รัฐบาลไทยต้องไปเอาเป้ยตาดีคืนมา รัฐบาลไทยต้องถีบเขมรตกพ้นหน้าผา!!

 

หมายเหตุ: โปรดติดตามอ่านตอนถัดไป



ความเดิมประเด็นใกล้เคียงกัน

(บางทีระบบก็มั่ว ..แต่คลิกอ่านเถอะ)


Use Coupon Code: boringdays for $9.94 discount








3 ความเห็น ใน “ยึดเป้ยตาดีคืนมา (๑)”


  1. อาม่า

    รัฐบาลประชาธิปัตย์…ทำเป็นหรือ

    แม่ยกพ่อยกประชาธิปัตย์ หน้ามืดตามัว…จะอ่านรู้เรื่องหรือ




  2. นอ นิมคนมีนอ

    งานนี้คงเป็นแค่เกมส์ที่ยืดเวลา ออกไป…..

    แล้วนั่งคิดแต่เพียงว่า “ไม่ได้เสียในสมัยตัวเอง” :ดำๆ:

    แต่ไม่เป็นไร สมัยไหนไม่เกี่ยว แต่ต้นเหตุนั้นไม่อาจลบล้างได้…. :แม่มๆ:




  3. kasma

    เขียนได้เข้าใจมาก จะรอภาคต่อไป มาเร็วๆ รออยู่ๆ :ขยิบ:



ร่วมคิดร่วมคุย

โปรดทราบ: เม้นได้เลย ไม่ต้องสมัครสมาชิก และไม่คิดตังค์ คิดอย่างไรโพสต์ตามนั้น แต่อย่าเหลี่ยม อย่าเหวง อย่าแหย อย่าแหล อย่าแดงเทียม อย่าไม่ใช่มติแกนนำ อย่าใช้ภาษาสัตว์เลื้อยคลาน และอย่ากวงตีง //ข้อความไม่ขึ้นไม่ต้องโพสต์ซ้ำ ข้อความอยู่ในระบบแล้ว




XHTML: คุณสามารถใช้ tags: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

ใส่อารมณ์:


:แว่นดำ: :แว: :แลบ: :แม่มๆ: :แง่: :เหล่: :เบี้ยว: :ฮือ: :อ๋าย: :หื่นๆ: :ยิ่มแฉ่ง :ม่ายๆ: :ดำๆ: :ดอก: :ฉงน: :ขยิบ: :Oo: :555+: