เกร็ดชีวิตพิสดารของวูล์ฟกัง อามาเดอุส โมสาร์ท

ในโอกาสอันใกล้ที่ คุณทฤษฎี ณ พัทลุง หนุ่มน้อยผู้มากด้วยความสามารถจะจัดคอนเสิร์ต “โมสาร์ท กับ ทฤษฎี” โดยคุณทฤษฎี ณ พัทลุง จะเป็นทั้งวาทยกรและบรรเลงเปียโนดุจเดียวกับคีตกวีปรมาจารย์โมสาร์ท โดยบรรเลงเปียโนคอนแชร์โต้ หมายเลข ๑๗ ร่วมกับวงดุริยางค์น้อยสยามซินโฟนิเอตต้า ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน ในอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๐ น. ที่จะถึงนี้ คุณแม่ถ่ายเถา สุจริตกุล ได้รวบรวม “เกร็ดชีวิตพิสดารของวูล์ฟกัง อามาเดอุส โมสาร์ท” ไว้เพื่อรู้จักสุดยอดคีตกวีปรมาจารย์ ผู้นี้ในหลากแง่มุมที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน ในความเป็นอัจฉริยะ ในชีวิตอันแสนสั้นรันทด

—————-

เกร็ดชีวิตพิสดาร ของ วูล์ฟกัง อามาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)

     ชาตะ ๒๗ มกราคม ค.ศ. ๑๗๕๖ ณ ซาล์สบูร์ก ประเทศออสเตรีย

     มรณะ ๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๗๙๑ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

คุณเชื่อไหมว่า

  • ไม่มีเด็กคนไหนเกิดมาพร้อมอัจฉริยภาพมหัศจรรย์เทียบเท่า วูล์ฟกัง อามาเดอุส  โมสาร์ท
  • โมสาร์ทเป็นดาราเด็กที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครเทียม
  • เขาสามารถหยิบเครื่องดนตรีทุกประเภทรวมทั้ง ไวโอลิน กับ แคลริเนต ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดขึ้นมาเล่นได้ทันทีทั้งๆที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
  • โมสาร์ทมีชื่อเล่นว่า ‘ความหวังสีทองแห่งออสเตรีย’
  • เขาแสดงความสามารถด้านเปียโนตั้งแต่อายุ ๓ ปี
  • โมสาร์ทประพันธ์ดนตรีชิ้นแรกเมื่ออายุ ๕ ปี
  • ประพันธ์โซนาต้าสำหรับเปียโนเมื่ออายุ ๖ ปี
  • โมสาร์ทเริ่มมีชื่อเสียงจากการแสดงคอนเสิร์ตในพิธีทางศาสนาตั้งแต่อายุ ๖ ปี
  • โมสาร์ทเดินทางแสดงฝีมือทั่วยุโรปในปีเดียวกัน
  • เขาประพันธ์ดนตรีสำหรับมหาอุปรากรเรื่องแรกเมื่ออายุ ๑๒ ปี
  • เมื่ออายุ ๑๓ ปี โมสาร์ทได้รับอิสริยาภรณ์จากสันตปาปา
  • การเดินทางสม่ำเสมอทำให้โมสาร์ทสามารถพูดภาษาต่างๆ ได้ถึง ๑๖ ภาษา
  • หนึ่งในผลงานดีเด่นได้แก่เพลงเด็ก Twinkle, Twinkle Little Star ซึ่งโมสาร์ทนำไปพลิกผันในรูปแบบ variations อันพิสดาร
  • ผลงานโอเปร่าของโมสาร์ทซึ่งเยี่ยมยอดและเป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุดจนถึงทุกวันนี้ได้แก่ The   Marriage of Figaro, The Magic Flute และ Don Giovanni
  • โมสาร์ทสามารถออกเสียงโน้ตได้ถูกต้องทุกโน้ตโดยไม่ต้องอาศัยดนตรีนำ
  • โมสาร์ทใช้เวลาน้อยมากในการประพันธ์ผลงานแต่ละชิ้น
  • เขาสามารถประพันธ์ดนตรีได้โดยไม่เลือกเวลาและสถานที่
  • เขาประพันธ์ดนตรีระหว่างกินอาหาร  คุยเล่นกับเพื่อน เล่นเกม และแม้กระทั่งขณะที่ภรรยากำลังคลอดบุตร
  • อาหารโปรดของโมสาร์ทคือ dumpling หมูสับกับกล่ำปลีดอง
  • โมสาร์ทกลัวผีและเชื่อถือในโชคลางเป็นที่สุด
  • โมสาร์ทประพันธ์ดนตรีถวายจักรพรรดิ์แห่งออสเตรียเป็นครั้งคราว
  • ในช่วงคริสตทศวรรษ ๑๗๐๐ นักดนตรีอาชีพหรือแม้แต่คีตกวีประจำราชสำนักได้รับค่าตอบแทนในอัตราต่ำมาก
  • โมสาร์ทยากจนมากทั้งๆ ที่จักรพรรดิ์แห่งออสเตรียพระราชทานเครื่องนุ่งห่ม    และของขวัญอื่นๆ รวมทั้งแหวนที่เขาสวมเวลาแสดง
  • โมสาร์ทไม่เคยรู้จักค่าของเงิน  และใช้จ่ายเกินตัวโดยไม่คำนึงถึงรายได้
  • โมสาร์ทมีหนี้สินท่วมท้นตลอดชีวิต
  • โมสาร์ทแต่งงานเมื่ออายุ ๒๕ ปี  มีบุตร ๒ คนและใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างยากไร้
  • บุรุษลึกลับผู้ว่าจ้างและเร่งเร้าให้โมสาร์ทแต่งเพลงไว้อาลัยสำหรับงานศพ (Requiem) ขณะที่โมสาร์ทล้มป่วย ทำให้เขาตกใจกลัวจนคิดว่ากำลังแต่งเพลงงานศพตนเอง
  • โมสาร์ทตายอย่างกระยาจกที่เวียนนาเมื่ออายุเพียง ๓๕ ปี
  • นักวิจัยบางคนกล่าวว่าเขาตายเพราะถูก อันโตนิโอ ซาเลียรี คู่แข่ง วางยาพิษ
  • บ้างว่าไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล
  • แพทย์ให้การรักษาไม่ถูกต้อง
  • ตายเพราะโรคหลอดลมอักเสบร้ายแรงและไข้รากสาด
  • บ้างก็ว่าตายเพราะโรคไตพิการ
  • ขณะที่คีตกวีอมตะส่วนมากมีความสามารถพิเศษในการประพันธ์ดนตรีประเภทใดประเภทหนึ่ง  โมสาร์ทสรรค์สร้างคีตนิพนธ์อมตะทุกประเภท กล่าวคือ เพลงสำหรับขับร้อง  คอนแชร์โต้  ดนตรีเชมเบอร์  ซิมโฟนี  โซนาต้า และมหาอุปรากร ฯลฯ
  • ในช่วงชีวิตอันแสนสั้น  โมสาร์ทประพันธ์คีตนิพนธ์อมตะยุคคลาสสิคนานารูปแบบรวมทั้งสิ้น ๖๐๐ เพลง
  • หากมีผู้นำผลงานทั้งหมดของโมสาร์ทไปบรรเลงติดต่อกันโดยไม่มีการหยุดพัก  จะใช้เวลามากกว่า ๘ วัน ๘ คืน
  • ศพของ วูล์ฟกัง อามาเดอุส โมสาร์ท มหาคีตกวีผู้เป็นยอดอัจฉริยะถูกฝังไว้  ณ สุสานคนอนาถา

รวบรวมโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล

Posted in ดนตรีการ. Bookmark the permalink. Print

About n/e

ชายไทยไม่ระบุชื่อ สิ่งมีชีวิตเขตร้อน เกิดและเติบโตเหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย รักในกาแฟรสขมเข้ม นิยมความเงียบ กินอยู่หลับนอนกับแมว ๑๒ ชีวิต

Namecheap coupon for November 2010: FAMILYWARMTH
Namecheap.com - Cheap domain name registration, renewal and transfers - Free SSL Certificates - Web Hosting

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>